ประเทศอิรัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พิกัดภูมิศาสตร์: 33°N 44°E / 33°N 44°E / 33; 44

สาธารณรัฐอิรัก

คำขวัญالله أكبر (อาหรับ)
"อัลลอฮุอักบัร"อัลลอฮ์ผู้ทรงยิ่งใหญ่"
เพลงชาติ"เมาฏินี"
"موطني"
("มาตุภูมิของข้า")
ที่ตั้งของอิรัก
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
แบกแดด
33°20′N 44°23′E / 33.333°N 44.383°E / 33.333; 44.383
ภาษาราชการ
  • ภาษาที่ได้รับการยอมรับในระดับภูมิภาค
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2019[2][3])
ศาสนา
เดมะนิมชาวอิรัก
การปกครองสหพันธ์ ระบบรัฐสภา สาธารณรัฐรัฐธรรมนูญ
บัรฮัม ศอเลียะห์
มุศเฏาะฟา อัลกาซิมี
มุฮัมมัด อัลฮัลบูซี
มิดฮัต อัลมะห์มูด
สภานิติบัญญัติสภาผู้แทนราษฎร
ก่อตั้ง
3 ตุลาคม ค.ศ. 1932
14 กรกฎาคม ค.ศ. 1958
15 ตุลาคม ค.ศ. 2005
พื้นที่
• รวม
438,317 ตารางกิโลเมตร (169,235 ตารางไมล์) (อันดับที่ 58)
4.62 (ใน ค.ศ. 2015)[4]
ประชากร
• ค.ศ. 2020 ประมาณ
เพิ่มขึ้น 40,222,503[5] (อันดับที่ 36)
82.7 ต่อตารางกิโลเมตร (214.2 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 125)
จีดีพี (อำนาจซื้อ)ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
399.400 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] (46)
10,175 ดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 111)
จีดีพี (ราคาตลาด)ค.ศ. 2019 (ประมาณ)
• รวม
250.070 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[8] (อันดับที่ 48)
4,474 ดอลลาร์สหรัฐ[8] (อันดับที่ 97)
จีนี (ค.ศ. 2012)29.5[9]
ต่ำ
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)ลดลง 0.674[10]
ปานกลาง · อันดับที่ 123
สกุลเงินดีนาร์อิรัก (IQD)
เขตเวลาUTC+3 (AST)
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+964
โดเมนบนสุด.iq
  1. รัฐธรรมนูญอิรัก มาตราที่ 4 (ฉบับแรก)

ประเทศอิรัก (อาหรับ: الْعِرَاق‎, อักษรโรมัน: al-ʿIrāq; เคิร์ด: عێراق‎, อักษรโรมัน: Êraq; อังกฤษ: Iraq) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิรัก (อาหรับ: جُمْهُورِيَّة ٱلْعِرَاقเกี่ยวกับเสียงนี้ Jumhūriīyah al-ʿIrāq; เคิร์ด: کۆماری عێراق‎, อักษรโรมัน: Komarî Êraq; อังกฤษ: Republic of Iraq) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีอาณาเขตทางทิศเหนือจรดประเทศตุรกี ทางทิศตะวันออกจรดประเทศอิหร่าน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จรดประเทศคูเวต ทางทิศใต้จรดประเทศซาอุดีอาระเบีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดประเทศจอร์แดน และทางทิศตะวันตกจรดประเทศซีเรีย กรุงแบกแดด ซึ่งเป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่ในกลางประเทศ ราว 97% ของประชากรอิรัก 36 ล้านคนเป็นชาวมุสลิม ส่วนใหญ่มีเชื้อสายซุนนีย์ ชีอะฮ์และเคิร์ด

ประเทศอิรักมีแนวชายฝั่งส่วนแคบวัดความยาวได้ 58 กิโลเมตรทางเหนือของอ่าวเปอร์เซีย และอาณาเขตของประเทศครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเมโสโปเตเมีย ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาซากรอส และทะเลทรายซีเรียส่วนตะวันออก สองแม่น้ำหลัก แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ไหลลงใต้ผ่านใจกลางประเทศและไหลลงสู่ชัฏฏุลอะร็อบใกล้อ่าวเปอร์เซีย แม่น้ำเหล่านี้ทำให้ประเทศอิรักมีดินแดนอุดมสมบูรณ์มากมาย

ภูมิภาคระหว่างแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสมักเรียกว่า เมโสโปเตเมีย และคาดว่าเป็นบ่อเกิดของการเขียนและอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดของโลก พื้นที่นี้ยังเป็นที่ตั้งของอารยธรรมที่สืบทอดต่อกันมานับแต่ 6 สหัสวรรษก่อนคริสตกาล ในแต่ละช่วงของประวัติศาสตร์ อิรักเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิอัคคาเดีย ซูเมเรีย อัสซีเรีย และบาบิโลเนีย นอกจากนี้ยังเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมีเดีย อะคีเมนิด เฮลเลนนิสติก พาร์เธีย แซสซานิด โรมัน รอชิดีน อุมัยยะฮ์ อับบาซียะห์ มองโกล ซาฟาวิด อาฟชาริยะห์และออตโตมัน และเคยเป็นอาณาเขตในอาณัติสันนิบาตชาติภายใต้การควบคุมของอังกฤษ

พรมแดนสมัยใหม่ของประเทศอิรักส่วนใหญ่ปักใน ค.ศ. 1920 โดยสันนิบาตชาติ เมื่อจักรวรรดิออตโตมันถูกแบ่งตามสนธิสัญญาแซฟวร์ ประเทศอิรักถูกกำหนดให้อยู่ในอำนาจของสหราชอาณาจักรเป็นอาณาเขตในอาณัติเมโสโปเตเมียของอังกฤษ พระมหากษัตริย์สถาปนาขึ้นใน ค.ศ. 1921 และราชอาณาจักรอิรักได้รับเอกราชจากอังกฤษใน ค.ศ. 1932 ใน ค.ศ. 1958 พระมหากษัตริย์ถูกล้มล้างและมีการสถาปนาสาธารณรัฐอิรัก ประเทศอิรักถูกควบคุมโดยพรรคบะอัธสังคมนิยมอาหรับตั้งแต่ ค.ศ. 1968 ถึง 2003 หลังการบุกครองโดยสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร พรรคบะอัธของซัดดัม ฮุสเซนถูกโค่นจากอำนาจและมีการจัดการเลือกตั้งรัฐสภาหลายพรรคขึ้น ทหารสหรัฐออกจากอิรักทั้งหมดใน ค.ศ. 2011 แต่การก่อการกำเริบอิรักยังดำเนินต่อไปและทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อนักรบจากสงครามกลางเมืองซีเรียไหลบ่าเข้าประเทศ

ภูมิศาสตร์[แก้]

แผนที่ประเทศอิรัก

อิรักมีพื้นที่ทั้งหมด 437,072 ตารางกิโลเมตร ทิศตะวันออกติดกับ อิหร่าน ทิศเหนือ ติดกับตุรกี ทิศใต้ติดกับคูเวต ทิศตะวันตกติดกับ ซีเรีย และจอร์แดน สภาพทางภูมิศาสตร์ของอิรัก เป็นทะเลทรายร้ออิรักยละ 40 ที่ราบสูง ยากแต่การทำการเกษตรทำให้อิรักต้องนำเข้าสินค้าภาคการเกษตรเช่น ข้าวสาลี ข้าวจ้าว ธัญพืช แต่อย่างไรก็ดี อิรักก็มีแม่น้ำไหลผ่าน 2 สาย คือ ไทรกิส ยูเฟรตีส ทำให้ยังพอมีความอุดมสมบูรณ์อยู่บ้าง

ประวัติศาสตร์[แก้]

ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์อิรัก

ยุคโบราณ[แก้]

ยุคกลาง[แก้]

ยุคอาณาจักรออตโตมาน[แก้]

ส.ค.ส.คริสต์มาสค.ศ. 1917 ของกองกำลังบริติชเมโซโปเตเมีย.
  • พ.ศ. 2281 - ตกอยู่ใต้อาณาจักรออตโตมาน

รัฐในอาณัติ และ ราชอาณาจักร[แก้]

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงอาณาจักรออตโตมันที่เคยเป็นมหาอำนาจในตะวันออกกลางตกเป็นผู้แพ้สงคราม ดินแดนต่าง ๆ ที่ออตโตมันปกครองก็ถูกแบ่งแยกออกเป็นรัฐต่าง ๆ อิรักเป็นหนึ่งในรัฐที่ถูกแบ่งแยกออกมาโดยอังกฤษที่สามารถยึดครองอิรักจากออตโตมันได้ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1

อังกฤษได้เข้ามาปกครองอิรัก ในฐานะรัฐอารักขาตั้งแต่ ค.ศ. 1920 จนกระทั่งใน ค.ศ. 1932 อังกฤษได้ให้เอกราชแก่อิรักโดยมีราชวงศ์ฮัชไมต์ปกครองประเทศอิรัก

สาธารณรัฐ และ พรรคบะอัธ[แก้]

  • พ.ศ. 2511 - เริ่มต้นการปกครองโดยพรรคบาธ โดยมีประธานาธิบดี Ahmad Masan Al Bakr และรองประธานาธิบดี ซัดดัม ฮุสเซน (Saddam Hussein)
  • พ.ศ. 2522 - ซัดดัม ฮุสเซน ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
  • พ.ศ. 2523-2531 -สงครามระหว่างอิรัก-อิหร่าน (สงครามอ่าวครั้งที่ 1)
  • พ.ศ. 2533 - เข้ายึดครองคูเวต(สงครามอ่าวครั้งที่ 2)
  • พ.ศ. 2533 - ถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจโดยสหประชาชาติ

สหรัฐอเมริกาเข้ายึด[แก้]

อนุสาวรีย์ของซัดดัม ฮุสเซน ภายในจัตุรัสฟิรเดาส์ กรุงแบกแดด ได้โค่นล้มลงภายหลังจากสงครามอิรัก เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2003.

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

ประเทศอิรักแบ่งออกเป็น 19 เขตผู้ว่าการ (อาหรับ: muhafazat‎, เคิร์ด: Pârizgah‎) ได้แก่

แผนที่แสดงเขตผู้ว่าการของประเทศอิรัก
  1. ดะฮูก
  2. นิเนเวห์/นีนะวา
  3. อัรบีล
  4. คีร์คูก
  5. อัสซุลัยมานียะฮ์
  6. เศาะลาฮุดดีน
  7. อัลอันบาร
  8. แบกแดด/บัฆดาด
  9. ดิยาลา
  10. กัรบะลาอ์
  11. บาบิโลน/บาบิล
  12. วาซิฏ
  13. นาจาฟ/อันนัจญัฟ
  14. อัลกอดิซียะฮ์
  15. มัยซาน
  16. อัลมุษันนา
  17. ษีกอร
  18. บัสรา/อัลบัศเราะฮ์
  19. ฮะลับญะฮ์ (ไม่แสดงในแผนที่ อยู่ทางด้านตะวันออกของเขตผู้ว่าการอัสซุลัยมานียะฮ์หรือหมายเลข 5)

เขตปกครองตนเองเคอร์ดิสถาน (Kurdistan Autonomous Region) ซึ่งได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญ มีพื้นที่รวมบางส่วนของเขตผู้ว่าการทางเหนือ และปกครองตนเองในเรื่องราชการภายในส่วนใหญ่

กองทัพ[แก้]

ดูบทความหลักที่: กองทัพอิรัก

เศรษฐกิจ[แก้]

โครงสร้าง[แก้]

ระบอบเศรษฐกิจของอิรักเป็นแบบ สังคมนิยม รวมอำนาจไว้ที่ศุนย์กลาง นั่นคือรัฐบาลกลางของอิรัก มีระบบรัฐสวัสดิการมีการแจก ข้าว น้ำตาล ยารักษาโรคบางชนิด นม เสื้อผ้า ให้แก่ประชากรของอิรัก เศรษฐกิจของอิรักค่อนข้างถูกกดดันจากประชาคมโลกโดยเฉพาะในช่วงวิกฤติการณ์อ่าวเปอร์เซีย สงครามอิรัก และช่วงเหตุการณ์ 9/11 ทำให้เศรษฐกิจของอิรักบอบช้ำ แต่ยุทธปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญของอิรักคือ น้ำมัน อิรักเป็นประเทศที่มีน้ำมันไว้ในครอบครองเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากซาอุดีอาระเบีย โดยผลิตได้วันละ 2.58 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้อิรักกลายเป็นดินแดนที่น่าสนใจอย่างยิ่งโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจน้ำมันจากสหรัฐอเมริกาที่มุ่งหวังเข้าไปกอบโกยทรัพยากรล้ำค่าอย่างทองคำดำในอิรัก

ประชากรศาสตร์[แก้]

เชื้อชาติ[แก้]

เด็ก ๆ ชาวเคอร์ดิสในอิรัก

สังคมของอิรักเป็นสังคมหลากหลายชาติพันธุ์ เป็นเหตุมาจากพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่เป็นแหล่งอารยธรรมมาหลายพันปี พลเมืองของอิรักที่นับถือศาสนาอิสลามนั้น ได้แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ มุสลิมชีอะห์(ร้อยละ 65) และ มุสลิมสุหนี่ (ร้อยละ 20) นอกจากนี้ยังมีชาวเคิร์ด อยู่ในบริเวณเคอร์ดิสถาน ชาวเคริ์ดในอิรักมีอยู่ประมาณ 3,700,000 คน นับว่าเป็นคนส่วนน้อยในอิรัก และเนื่องด้วยรูปแบบการปกครองที่ให้สิทธิของชนชาติอาหรับ และผูกขาดอำนาจทางเศรษฐกิจให้กับมุสลิมสุหนี่ ส่งผลให้ กลายเป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างศาสนา และชาติพันธุ์ในอิรัก ทั้งกับมุสลิมด้วยกันเองคือ สุหนี่และชีอะห์ และ ยังปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวคิร์ดกับรัฐบาลกลางของอิรัก เพื่อเรียกร้องสิทธิและความเท่าเทียมอีกด้วย

ภาษา[แก้]

ดูบทความหลักที่: ภาษาในประเทศอิรัก

ภาษาทางการของอิรัก คือ ภาษาอาหรับ และส่วนอื่นคือ ภาษาเคิร์ด

เมืองใหญ่[แก้]

ศาสนา[แก้]

ดูบทความหลักที่: ศาสนาในประเทศอิรัก

ชาวอิรักส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม 96% แบ่งเป็นนิกาย ชีอะห์ 31.5% กับ ซุนนีย์ 64.5% ลัทธิเหตุผล กับ Yazdânism 2.0% ศาสนาคริสต์ 1.2% ศาสนาอื่น ๆ 0.8%

อ้างอิง[แก้]

  1. Iraq, Ministry of Interior – General Directorate for Nationality: Iraqi Constitution (2005)
  2. 2.0 2.1 "Iraq". The World Factbook.
  3. "Why Iraqi Turkmens are excluded from the new government".
  4. "Surface water and surface water change". Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.
  5. "Population, total - Iraq | Data".
  6. "World Economic Outlook Database, October 2020". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 14 March 2020.
  7. "World Economic Outlook Database, October 2020". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 14 March 2020.
  8. 8.0 8.1 "World Economic Outlook Database, October 2018". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 7 March 2019.
  9. "World Bank GINI index". Data.worldbank.org. สืบค้นเมื่อ 17 August 2016.
  10. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  11. http://citypopulation.de/Iraq-Cities.html

บรรณานุรม[แก้]

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

รัฐบาล

ข้อมูลทั่วไป