วิกิพีเดีย:นโยบายการใช้ภาพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นโยบาย
นโยบายและแนวปฏิบัติในวิกิพีเดีย
หลักการสากล
ห้าเสาหลัก
อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย
ปล่อยวางกฎทั้งหมด
พฤติกรรม
ประพฤติเยี่ยงอารยชน
นโยบายการเขียน
สงครามแก้ไข
ความเป็นเจ้าของบทความ
อย่าว่าร้ายผู้อื่น
เนื้อหา
มุมมองที่เป็นกลาง
งดงานค้นคว้าต้นฉบับ
การพิสูจน์ยืนยันได้
หลักการตั้งชื่อบทความ
ชีวประวัติของบุคคลที่มีชีวิตอยู่
การลบ
นโยบายการลบ
เงื่อนไขสำหรับการลบทันที
กฎข้อบังคับ
ผู้ดูแลระบบ
นโยบายการบล็อกผู้ใช้
บอต
นโยบายการล็อก
หุ่นเชิด
ชื่อผู้ใช้
การก่อกวน
ลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์
นโยบายการใช้ภาพ
เนื้อหาที่ใช้งานโดยชอบธรรม
ดูเพิ่ม
รายชื่อนโยบายทั้งหมด
รายชื่อแนวปฏิบัติทั้งหมด

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอัปโหลด ดูเพิ่ม วิธีการอัปโหลดภาพ หรือไปที่หน้าอัปโหลดโดยตรง

สิ่งที่ควรรู้ก่อนการใช้งานภาพและสื่อต่าง ๆ

  1. วิกิพีเดียมิใช่ที่รับฝากรูปภาพหรือสื่อสำหรับกิจกรรมอื่นที่นอกเหนือจากบทความหรือโครงการของวิกิพีเดีย ภาพที่ไม่ได้ใช้จะถูกลบเป็นระยะ หรือถูกแจ้งลบโดยผู้ใช้ท่านอื่น
  2. ภาพประกอบบทความ จะเป็นภาพที่ช่วยอธิบายบทความให้เข้าใจได้ง่ายและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และควรใส่คำอธิบายใต้ภาพ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจว่าภาพสื่อถึงอะไร
  3. ภาพที่คุณต้องการอาจมีอยู่แล้วในวิกิมีเดียคอมมอนส์ ซึ่งสามารถเรียกใช้ได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องอัปโหลดใหม่
  4. โปรดคำนึงถึงเรื่องลิขสิทธิ์สำหรับวิกิพีเดียเป็นอย่างแรกก่อนอัปโหลดไฟล์ใด ๆ บนวิกิพีเดีย (ดูหัวข้อถัดไปด้านล่าง)
  5. อธิบายแหล่งที่มาของภาพที่ชัดเจนเสมอ เพื่อการตรวจสอบหรือการค้นหาเพิ่มเติม
  6. ถ้าภาพนั้นเป็นภาพที่คุณสร้างสรรค์ด้วยตัวเอง กรุณาอย่าใส่ชื่อของคุณลงบนภาพ (เรียกว่า ลายน้ำ) แต่สามารถใส่ลงในส่วนของคำบรรยายภาพแทน
  7. ชื่อภาพควรจะตั้งชื่อให้มีความหมายเฉพาะตัว ไม่สั้นหรือยาวเกินไป ไม่ควรตั้งชื่อภาพเป็นตัวเลขหรือรหัสที่ไม่สื่อถึงเช่น "001.jpg" ถ้าในระบบมีภาพภายใต้ชื่อเดียวกันอยู่แล้ว กรุณาเปลี่ยนเป็นชื่ออื่น ไม่ควรอัปโหลดทับไฟล์เดิม เว้นแต่คุณต้องการแก้ไขภาพเก่าโดยการนำภาพใหม่ไปแทนที่
  8. สำหรับภาพที่มีข้อความภาษาใด ๆ บนภาพ เช่น แผนผัง แผนที่ อาจจะเขียนข้อมูลเพิ่มเติมเป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่นในส่วนของคำบรรยายภาพ เพื่อชาวต่างประเทศจะได้สามารถเข้าใจความหมายของภาพได้ดียิ่งขึ้น
  9. รูปแบบที่แนะนำ ควรใช้ภาพ JPEG สำหรับภาพถ่าย และควรใช้ภาพ SVG หรือ PNG สำหรับภาพลายเส้น เช่น โลโก้ แผนที่ หรือแผนผัง

เลือกภาพสำหรับอัปโหลด

ก่อนที่จะอัปโหลด คุณควรจะมั่นใจว่าภาพที่คุณจะอัปโหลด เข้าข่ายหนึ่งในกรณีต่อไปนี้

อย่าลืมเลือกสถานะลิขสิทธิ์ที่ถูกต้อง และระบุที่มาของภาพอย่างชัดเจน ทุกภาพจำเป็นต้องมีคำอธิบายภาพและป้ายแสดงสถานะลิขสิทธิ์ของภาพ โดยคำอธิบายภาพควรจะระบุข้อมูลที่จำเป็นในการยืนยันสถานะลิขสิทธิ์ของภาพนั้น ๆ

ลิขสิทธิ์และการอนุญาต

วิกิพีเดียสนับสนุนการอัปโหลดภาพที่ผู้ใช้สร้างขึ้นเอง แต่ภาพนั้นต้องประกาศให้ใช้สัญญาอนุญาตเสรี เช่น GFDL และ/หรือ Creative Commons ที่ยอมรับได้ หรือปล่อยเป็นสาธารณสมบัติ ภาพเหล่านั้นได้แก่ ภาพถ่ายที่คุณถ่ายขึ้นเอง ภาพวาดหรือแผนภูมิที่คุณสร้างขึ้น และงานชนิดอื่นๆ ที่คุณสร้างขึ้นเอง อย่างไรก็ตาม การคัดลอกภาพหรือแผนภูมิที่มีลิขสิทธิ์อาจไม่ได้มีลิขสิทธิ์ใหม่ โดยงานที่มีลิขสิทธิ์จะต้องเกิดจาก "การสร้างสรรค์" และไม่ได้ขึ้นอยู่กับแรงงานที่สร้างงานนั้นๆ ภาพถ่ายของวัตถุสามมิติมักจะมีลิขสิทธิ์ใหม่เป็นของตัวเอง ต่างจากภาพถ่ายของวัตถุสองมิติ (เช่นภาพวาดในพิพิธภัณฑ์)

สำหรับภาพถ่าย อย่าลืมว่าผู้ที่ถือลิขสิทธิ์ภาพคือ ผู้ถ่ายภาพ หรือ เจ้าของภาพต้นฉบับ ซึ่งการสแกน ดัดแปลง ตกแต่ง หรือพยายามแก้ไขภาพไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นผู้สร้างภาพ หรืองานดังกล่าวแต่อย่างใด

วิกิพีเดียไม่แนะนำให้ใช้ภาพที่มีตัวคุณ เพื่อนฝูง หรือครอบครัวของคุณปรากฏอยู่ภายในอย่างเด่นชัดเจนจนดึงความสนใจจากวัตถุประสงค์หลัก ภายในเนมสเปซหลัก แต่สามารถใช้ในหน้าผู้ใช้ของคุณได้

ภาพที่ผู้ใช้สร้างขึ้นต้องไม่มีการใส่ลายน้ำ ดัดแปลง หรือใส่เครดิตลงในภาพ ซึ่งส่งผลให้ขัดต่อการใช้ภาพอย่างเสรี ยกเว้นว่าภาพนั้นตั้งใจที่จะนำเสนอการใช้ลายน้ำหรือการดัดแปลงนั้นซึ่งเกี่ยวข้องกับเนื้อหาในบทความ การใส่เครดิตของภาพทั้งหมดควรอยู่ในหน้าคำอธิบายภาพ

สัญญาอนุญาตเสรี

สำหรับสัญญาอนุญาตที่มีความเสรีเพียงพอที่จะใช้ในวิกิพีเดีย ดูรายชื่อได้ที่ป้ายระบุสถานะลิขสิทธิ์ของภาพ สัญญาอนุญาตที่จำกัดการใช้งาน อาทิการใช้งานที่ไม่แสวงหากำไร หรือเฉพาะเพื่อการศึกษา หรือให้ใช้เฉพาะในวิกิพีเดีย ไม่นับว่ามีความเสรีเพียงพอ สื่อที่ใช้ในวิกิพีเดีย (ยกเว้นภาพที่ใช้งานโดยชอบธรรม) ควรจะมีความ "เสรี" ในระดับเดียวกับเนื้อหาวิกิพีเดีย

สาธารณสมบัติ

ภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐ ภาพทั้งหมดที่เผยแพร่ในสหรัฐฯก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2466 ถือเป็นสาธารณสมบัติในปัจจุบัน แต่ไม่รวมถึงภาพที่สร้างขึ้นก่อนปี 2466 และเผยแพร่ในปี 2466 หรือหลังจากนั้น เซิร์ฟเวอร์ของวิกิพีเดียไทยตั้งอยู่ในสหรัฐ ดังนั้นกฎหมายนี้จึงมีความสำคัญด้วย

ในสหรัฐ การทำซ้ำของงานศิลปะสองมิติที่เป็นสาธารณสมบัติ ไม่ถือว่ามีลิขสิทธิ์ เช่น การถ่ายภาพภาพวาดโมนาลิซาตรงๆไม่ถือว่ามีลิขสิทธิ์ การสแกนภาพเพียงอย่างเดียวก็ไม่ถือว่ามีลิขสิทธิ์ โดยภาพนั้นมีสถานะลิขสิทธิ์เดียวกับภาพต้นฉบับ อย่างไรก็ตาม กฎหมายลิขสิทธิ์ในหลายประเทศนั้นอาจแตกต่างออกไป

หากคุณสงสัยว่าภาพใดเป็นภาพละเมิดลิขสิทธิ์ (เช่น ไม่มีการระบุสถานะลิขสิทธิ์ในคำอธิบายภาพ และคุณเคยเห็นภาพนั้นที่อื่นโดยที่มีลิขสิทธิ์คุ้มครอง) คุณควรจะใส่ป้ายภาพที่อาจจะละเมิดลิขสิทธิ์ หรือแจ้งลบ

การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ

การใช้งานภาพที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ถือสิทธิ อาจเข้าข่ายการใช้งานโดยชอบธรรมในสหรัฐ การอ้างสิทธิ์การใช้งานโดยชอบธรรมที่ไม่เหมาะสมถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และขัดต่อกฎหมาย

วิกิพีเดียอนุญาตให้ใช้ภาพลิขสิทธิ์ที่มีความละเอียดต่ำ หากการใช้ภาพนั้นไม่ส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ทางการค้า มีความสำคัญต่อบทความ และไม่มีภาพเสรีอื่นที่ใช้แทนได้

ภาพเปลือยและกิจกรรมทางเพศ

วิกิพีเดียภาษาไทยมีนโยบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาพเปลือยและภาพที่เกี่ยวกับกิจกรรมทางเพศ จากการอภิปรายในศาลาชุมชน (สรุปเมื่อ 1 กรกฎาคม 2554)

  1. เพื่อประโยชน์ในเชิงสารานุกรม บทความเกี่ยวกับกิจกรรมทางเพศของมนุษย์ ให้ใช้ภาพลายเส้น จิตรกรรมหรือประติมากรรมที่เป็นภาพเสรีเท่านั้น ห้ามใช้ภาพถ่ายหรือคลิปวิดีทัศน์กิจกรรมทางเพศของมนุษย์จริง
  2. เพื่อประโยชน์ในเชิงสารานุกรม บทความที่ใช้ภาพเปลือยของมนุษย์ (สำหรับแพทยศาสตร์ กายวิภาคศาสตร์ ศิลปกรรม เป็นต้น) ให้ใช้ภาพเสรีเท่านั้น หากมีภาพลายเส้น จิตรกรรมหรือประติมากรรมใช้ทดแทนภาพถ่ายหรือคลิปวิดีทัศน์ได้โดยไม่ทำให้เสียความหมายเชิงสารานุกรมก็ให้ใช้ภาพดังกล่าวทดแทน
  3. สื่อเสรีดังกล่าว รวมไปถึงภาพลายเส้น จิตรกรรม ประติมากรรม สามารถเลือกใช้ได้จากวิกิมีเดียคอมมอนส์เท่านั้น ห้ามเก็บภาพดังกล่าวบนวิกิพีเดียภาษาไทยในทุกกรณี

การอัปโหลดภาพ

รูปแบบ

  • ภาพลายเส้น สัญลักษณ์ แผนที่ภูมิศาสตร์การเมือง ธง และภาพอื่นๆที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ควรอัปโหลดในรูปแบบ SVG โดยเป็นรูปเวกเตอร์ ภาพที่มีลักษณะเป็นพื้นที่สีแบบง่ายๆ ขนาดใหญ่ต่อเนื่องกัน ควรจะใช้รูปแบบ PNG
  • ภาพลายเส้น สัญลักษณ์ แผนที่ภูมิศาสตร์การเมือง ธง และภาพอื่นๆที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ที่ใช้เป็นการใช้งานโดยชอบธรรม ควรใช้รูปแบบ PNG
  • ภาพถ่ายและภาพที่มีความลึกของสีแบบภาพถ่าย ควรใช้รูปแบบ JPEG
  • ภาพเคลื่อนไหวที่ใช้ในบรรทัด ควรใช้รูปแบบ GIF
  • เสียงเพลงและวีดิทัศน์ ควรใช้รูปแบบ Ogg/Theora
  • ภาพหน้าจอ ควรใช้รูปแบบ PNG หรือ JPEG ขึ้นอยู่กับลักษณะของภาพนั้น ๆ

ขนาดของไฟล์ที่อัปโหลด

ไฟล์ที่อัปโหลดจะต้องมีขนาดไม่เกิน 20 เมกะไบต์ ซอฟต์แวร์มีเดียวิกิที่วิกิพีเดียใช้สามารถปรับขนาดภาพโดยอัตโนมัติได้ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่จะต้องปรับขนาดของภาพด้วยตัวคุณเอง การอัปโหลดภาพที่มีความละเอียดสูงทำให้สามารถนำสื่อของวิกิพีเดียไปใช้ได้กว้างขึ้น เช่น นำไปใช้ในการตีพิมพ์

สำหรับงานลายเส้น โดยเฉพาะที่คุณวาดเอง อาจจะดีกว่าถ้าคุณปรับขนาดของภาพด้วยตัวคุณเองและใช้ในบทความ เนื่องจากว่าการปรับขนาดอัตโนมัติอาจสร้างภาพที่มีขนาด (จำนวนไบต์) สูงกว่าหรือมีคุณภาพแย่ลง กรณีนี้ไฟล์ภาพ SVG อาจเป็นประโยชน์

ชื่อไฟล์

การตั้งชื่อไฟล์นั้นอาจตั้งด้วยอักษรไทย หรืออักษรละติน (อักษรภาษาอังกฤษ) แต่การใช้อักษรไทยหรืออักขระพิเศษต่าง ๆ อาจส่งผลต่อผู้ใช้บางคนในการดาวน์โหลดภาพ อีกทั้งยังอาจทำให้เกิดความผิดพลาดในการใช้งานได้ง่าย

การตั้งชื่อไฟล์ควรมีความหมายเฉพาะตัวที่บรรยายภาพนั้นในระดับหนึ่ง ไม่ควรตั้งชื่อยาวเกินไป ไม่ควรตั้งชื่อไฟล์ที่ไม่สื่อความหมายของภาพ อาทิ ลำดับเลขของภาพถ่ายจากกล้องดิจิทัล สัญลักษณ์/ตัวเลข/ตัวอักษรที่ไม่มีความหมายใด ๆ รวมถึงชื่อที่สะกดผิด (กรณีหลังสามารถแจ้งผู้ดูแลให้เปลี่ยนเป็นชื่อที่เหมาะสมได้) ข้อควรระวังคือ อักษรละตินตัวเล็กและใหญ่นั้นมีผลทำให้ชื่อต่างกัน เช่น Thailand.PNG นั้นต่างกับ Thailand.png แนะนำว่าคุณควรตั้งส่วนของชนิดไฟล์ด้วยอักษรตัวเล็กทั้งหมด นอกจากนี้เครื่องหมายอันเดอร์สกอร์ (_) และเว้นวรรค ( ) ที่ปรากฏในชื่อไฟล์มีความหมายเหมือนกัน เมื่อนำภาพไปใส่บทความสามารถใช้แทนกันได้

คุณสามารถตั้งชื่อไฟล์เหมือนกับภาพที่มีอยู่แล้วได้ หากคุณต้องการใช้ภาพที่อัปโหลดใหม่แทนภาพเดิม เช่น ภาพเดิมที่มีคุณภาพดีขึ้น หรือภาพที่มีแสดงสิ่งที่ต้องการสื่อชัดเจนขึ้น การอัปโหลดทับภาพเดิมจะทำให้ผู้ใช้คนอื่นสามารถเปรียบเทียบสองภาพได้ง่าย ไม่ต้องเปลี่ยนภาพในบทความ และไม่ต้องลบภาพเก่าทิ้ง อย่างไรก็ตาม ภาพที่มีรูปแบบไฟล์ต่างกันไม่สามารถทับกันได้

สารสนเทศที่ต้องมี

  • ป้ายระบุสถานะลิขสิทธิ์ของไฟล์
  • คำอธิบาย: หัวข้อของภาพ ควรอธิบายว่าภาพเชื่อมโยงกับบทความที่จะใช้อย่างไร และสารสนเทศเพื่อการระบุอื่นซึ่งไม่ครอบคลุมตามจุดนำด้านล่าง ตัวอย่างเช่น ภาพบุคคลที่ถ่ายในงานสาธารณะมักระบุงานและวันที่จัดงานนั้น (ต่างจากคำบรรยายใต้ภาพ (caption) หรือข้อความทางเลือก (alt-text) และอาจละเอียดกว่าสองอย่างนี้)
  • แหล่งที่มา: ผู้ทรงลิขสิทธิ์ของภาพหรือยูอาร์แอลของหน้าเว็บที่มาของภาพ
    • สำหรับภาพที่มาจากอินเทอร์เน็ต ยูอาร์แอลของหน้าเอชทีเอ็มแอลที่มีภาพจะดีกว่ายูอาร์แอลสำหรับภาพอย่างเดียว
    • สำหรับภาพที่มาจากหนังสือ ระบุเลขหน้าและสารสนเทศบรรณานุกรมเต็ม (ผู้ประพันธ์ ชื่อหนังสือ เลข ISBN เลขหน้า วันที่ลิขสิทธิ์ สารสนเทศผู้พิมพ์ ฯลฯ) จะดีที่สุด
    • สำหรับภาพที่สร้างเอง ให้ระบุ "ภาพถ่ายเอง" หรือ "ภาพสร้างเอง" (นอกเหนือจากป้ายระบุสถานะลิขสิทธิ์ที่เหมาะสม เช่น {{self}} หรือ {{PD-self}})
  • ผู้ประพันธ์: ผู้สร้างเดิมของภาพ (โดยเฉพาะถ้าเป็นคนละคนกับผู้ทรงลิขสิทธิ์) หากอัปโหลดภาพโดยการอนุญาตให้ผู้สร้าง ควรให้สารสนเทศติดต่อด้วย
  • การอนุญาต: ผู้ใด หรือกฎหมายหรือนโยบายใดอนุญาตให้โพสต์บนวิกิพีเดียด้วยป้ายระบุสถานะลิขสิทธิ์ภาพที่เลือก
  • วันที่สร้างภาพ (ถ้ามี) ให้ระบุวันเดือนปีให้ครบดีกว่าระบุแต่ปี
  • สถานที่ที่สร้างภาพ (ถ้าใช้ได้และหาได้) สามารถระบุเป็นลองติจูดและละติจูดที่มาจากจีพีเอส
  • รุ่นอื่นของไฟล์นี้บนวิกิพีเดีย เช่น ตัดส่วนภาพ (crop) หรือไม่ตัดส่วนภาพ รีทัช (retouch) หรือไม่รีทัช
  • เหตุผลการใช้ (จำเป็นเฉพาะภาพไม่เสรี) ต้องการเหตุผลไม่เสรีแยกสำหรับการใช้ภาพแต่ละครั้งในวิกิพีเดียภาษาไทย รายละเอียดสิ่งที่จำเป็นของเหตุผลไม่เสรีอธิบายในรายละเอียดในหน้าเนื้อหาไม่เสรี

การเพิ่มภาพเข้าบทความ

ขนาดภาพที่แสดง

หากคุณต้องการแสดงภาพในบทความข้างๆข้อความ คุณควรจะใช้ thumbnail (ดู วิกิพีเดีย:วิธีการใส่ภาพ) ซึ่งจะทำให้ภาพนั้นมีขนาดตามการตั้งค่าของผู้ใช้ (ค่ามาตรฐานเท่ากับ 180 พิกเซล) การใส่ขนาดภาพที่ใหญ่กว่า ไม่ควรกำหนดให้กว้างเกิน 300 พิกเซล เพื่อให้สามารถแสดงในหน้าจอขนาด 800x600 ได้อย่างไม่เป็นปัญหา

ดูเพิ่ม

ในภาษาอื่น