อยากเที่ยวแต่ยังเดินทางไม่ได้ งั้นเที่ยวทิพย์ไปกับฟอนต์ฟุกุโอกะกัน!ฟอนต์สไตล์ญี่ปุ่ง สำหรับพาดหัว ไม่เหมาะในการเขียนพารากราฟ แอแง~
ร่างแบบจากนิตยสารแฟนในอดีต แล้วนึกถึงรถไฟเหาะตีลังกา จึงดึงเส้นส่วนบนให้วูบวาบ ส่วนฐานมั่นคง แต่มันตีกับสระบน เลยปรับให้เส้นบนและฐานล่าง ล้อไปตามสระบนล่างด้วย
ทีเอ ลัลลาบาย ฟ้อนต์ (TA Lullaby Font)
เป็นฟอนต์แนวปลายตัดโค้ง ที่ผมทดลองเล่นลูกเล่นกับการสะบัดของหางให้ตัวหนังสือมีการเชื่อมต่อกันนะครับแต่เพื่อให้อ่านง่ายและใช้งานได้หลากหลายขึ้น จึงทำฟอนต์นี้แบบไม่เล่นหางออกมาอีกแบบด้วยจึงได้ฟอนต์ออกมา 2 แบบ คือ TA lullaby LS ตัวเล่นหาง กับ TA Lullaby NM ตัวไม่มีหาง
ดริฟท์คิง (j.devilfont@Drift King)
ฟอนต์ตัวที่ 5 ดริฟท์คิง Drift-king ลักษณะฟอนต์พาดหัว ตัวอักษรต้องการความเป็น สปอร์ตตี้ โฉบเฉี่ยวมีความเท่ สไตล์วัยรุ่นเปลี่ยนขาได้ถึง 3 แบบ แล้วแต่ความชอบของผู้นำไปใช้งาน
เอฟซี ซับเจค ราวด์ (FC Subject Rounded)
แบบฟอนต์ตัวมนของ FC Subject เพิ่มความเป็นมิตรให้มากยิ่งขึ้นพร้อมน้ำหนักให้เลือกถึง 11 ระดับ 22 สไตล์
เปิดตัวมาพร้อมกับพี่น้องฝาแฝดในตระกูลแต่บุคลิกแตกต่างเพื่อการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้นไม่ว่าจะเหนือระดับอย่าง Serif (ในชื่อ SURATANA)หรือเรียบหรูแบบ High Contrast Sans (ในชื่อ SURATANA SANS)
ฟอนต์ลูกพีช สุดคิ้วววทึ มีด้วยกัน 4 น้ำหนัก (ตัวปกติ ตัวหนา ตัวเอียง และตัวหนาเอียง)สามารถใช้ได้ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ มีเลขอารบิก เลขไทย และสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ อื้อหือ! สุดปัง!
เอฟซี ซับเจค คอนเดนซ์ (FC Subject Condensed)
แบบฟอนต์ตัวแคบของ FC Subject สำหรับการใช้งานตัวอักษรในพื้นที่จำกัดโดยสามารถลดพื้นที่ลงได้กว่า 18% โดยให้ผลลัพธ์ที่ดูสวยงามกว่าการบีบแคบแบบไม่ได้สัดส่วน
งานชุดนี้ ถือว่าเป็นนัดล้างตา (ลาย) ทำแก้มือจากฟอนต์รวมมิตร ให้สามารถรองรับได้ทุกระบบปฏิบัติการ เป็นลักษณะการเขียนลายมือแบบเด็กๆ ตัวโย้เย้ขึ้นลงตามลีลาธรรมชาติของเด็ก ซึ่งเป็นเรื่องสลับซับซ้อนซ่อนเงื่อนในการจัดระเบียบสระวรรณยุกต์