ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางAEC

ลองนึกภาพดูสิว่า เมื่อมนุษย์เศรษฐกิจไทยรุ่นใหม่สามารถสื่อสารได้ 3 ภาษาหลัก คือ อังกฤษ บาฮาซา และจีนกลาง ชีวิตหรือหน้าตาจะเจริญก้าวหน้าขนาดไหน? ตัวเลขจีดีพี 2 หลักที่เคยทำได้เป็นยังไง? รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปีขึ้นไปอยู่ใน 3 อันดับแรกกับสิงคโปร์และบรูไนจะเป็นยังไง? คนรุ่นใหม่ที่เต็มไปด้วยความเป็นเถ้าแก่จะมากที่สุดในภูมิภาคอาเซียนจะดีแค่ไหน? มูลค่าเศรษฐกิจทั้งประเทศขยับเข้าใกล้เคียงอินโดนีเซียจะยิ่งใหญ่อย่างไร? คนไทย และเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนรวมกันกว่า 600 ล้านคน มีเวลาเหลืออีก 3 ปี ซึ่งไม่นานเกินไป ไม่น้อยเกินไป แต่จะพอดีกับความกระตือรือร้นผนวกกับความพยายามที่ไม่สิ้นสุดของทุกฝ่ายที่จะทำให้ได้คำตอบกับคำถามเหล่านั้น บนแผนยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนเมืองไทยสู่ความเป็นเมืองหลวงเศรษฐกิจแห่งอาเซียน หรือ The Capital of AEC

Capital of Logistics ไม่มีใครปฏิเสธว่า ที่ตั้งเมืองไทย คือ เส้นทางขนส่งสินค้า และขนส่งผู้โดยสารทุกรูปแบบจากฝั่งมหาสมุทรอินเดียไปยังมหาสมุทรแปซิฟิก หากประกาศเป็นเพียงแค่ประตู หรือ Gateway ก็ดูจะใช้ประโยชน์ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของภูมิศาสตร์ประเทศ แต่เมื่อประกาศเป็นจุดเชื่อมต่อ หรือ Connectivity ก็ทำให้ศักยภาพเมืองไทยเหนือชั้นถึงขั้นโดดเด่นในสายตาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ทั่วโลก แต่หากประกาศควบคู่ให้เป็นศูนย์กลางของสายสัมพันธ์ หรือ Connection ยิ่งทำให้ไทยได้รับการมองเป็นพันธมิตรคู่ค้าที่ไม่มีวันตาย ในเมื่อวัฒนธรรมการทำธุรกิจแถบเอเชียและอาเซียนมีจุดเด่นตรงการอาศัยสายสัมพันธ์มากกว่าตัวเลขคืนทุน หรือตัวเลขกำไรขาดทุนสุทธิที่ชาติตะวันตกยึดเป็นตัวชี้วัดตลอดกาล

Capital of Agricultural Industry ไม่มีใครเป็นงงว่า เมืองไทย คือ เป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันและก็หวังอย่างสุดๆ ว่าจะไปต่อถึงอนาคต หากประกาศเป็นเพียงแค่ส่งออกข้าว ส่งออกน้ำตาล ส่งออกมันสำปะหลัง ส่งออกยางพาราติด 3-5 อันดับแรกของโลก

ก็ดูจะใช้ศักยภาพของธรรมชาติและภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษให้มาเพียงครึ่งเดียว แต่หากประกาศให้ควบคู่กับ Capital of Partnership Exchange หรือศูนย์กลางพันธมิตรแห่งการซื้อขายสินค้าเกษตรอุตสาหกรรมล่วงหน้า ยิ่งทำให้ทั้งไทยในฐานะผู้นำ และเพื่อนบ้านในชาติอาเซียนเป็นคู่ค้ากับทั่วโลกอย่างโดดเด่นและยั่งยืน เพราะหากเกิดการร่วมมือกันทั้งในแง่ยุทธศาสตร์ผลผลิต และราคาขาย ทั้งไทย พม่า กัมพูชา และเวียดนาม พื้นที่อาเซียนแผ่นดินใหญ่ไม่ต่างอะไรกับ “คันนาข้าวโลก” ในขณะที่ ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย คือ “ป่ายางพาราโลก”

Capital of Tourism Industry ไม่มีใครพูดไม่ออกว่า เมืองไทย คือ สยามเมืองยิ้ม ด้วย 2 มือพนมบนหน้าอกพร้อมกับก้มศีรษะไหว้กลายเป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ที่สุดจะงดงามไปทั่วโลก

หากประกาศแต่เพียงต้องสร้างเม็ดเงิน 2 ล้านล้านบาทจากนักท่องเที่ยวทั่วโลกที่เข้าไทยภายใน 3 ปีข้างหน้าก็ดูจะได้รายได้ไม่สมน้ำสมเนื้อกับดินแดนมหัศจรรย์แห่งกลุ่มชาติอาเซียน ซึ่งเป็นแหล่งที่มีมรดกโลกมากที่สุดแห่งหนึ่งเมื่อเทียบกับทวีปอื่นๆ ของโลก ในขณะะเดียวกันดูจะไม่ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่กับ 2 สนามบินนานาชาติในกลุ่มชาติอาเซียน คือ สนามบินสุวรรณภูมิของประเทศไทย และสนามบินชางฮีของประเทศสิงคโปร์ที่ติดอันดับโลกบ่อยครั้งมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา แต่หากประกาศให้ควบคู่กับการเป็น Single AEC Destination บนการเชื่อมต่อของโครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และปรับทัศนคติที่มีต่อทุกแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในแต่ละประเทศ ให้กลายเป็น “มรดกท่องเที่ยวแห่งกลุ่มชาติอาเซียน” แม้แต่เครื่องบินใหญ่ที่สุดในโลกก็ขนไม่พอ

The Capital of AEC อาจเป็นวิธีคิดใหม่สุดบนบทความนี้ อาจต้องใช้ความเสียสละระดับภูมิภาค อาจต้องฝากคนรุ่นใหม่ในอนาคต อาจต้องใช้เวลานานกว่า 3 ปีที่เหลือก่อนถึงเส้นตายการเป็นเออีซี แต่ที่แน่ๆ ผมอยากชวนทุกท่านช่วยกันผลักดันให้เขตเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่มีเมืองไทยรวมอยู่ด้วย

ATC of AEC

An air traffic controller’s licence was revoked after two aeroplanes nearly collided on a runway in central Vietnam, an official said yesterday.

The incident occurred on June 27 when Truong Ngo Quang, chief air traffic controller at Da Nang City airport, left a trainee to supervise the runway, according to a press release posted on the website of the Civil Aviation Administration of Vietnam (CAAV).

Trainee Truong Nguyen Quynh Anh ordered a Jetstar Pacific plane to take off from a runway where a Vietnam Airlines aircraft had just landed. The two planes were 350 metres apart when the mistake was spotted.

“This is an incident which seriously threatened aviation safety,” the CAAV said on its website. “If it had not been seen in time, it would have led to an accident.”

CAAV director Lai Xan Thanh confirmed the case, adding weather conditions and other factors such as visibility were normal at the time.

Quang’s licence was removed on Friday. The trainee will have to undergo at least one additional year of training before she can be granted her licence, the CAAV said.

The director of the Vietnam Air Traffic Management Corporation will also be suspended for 15 days pending an investigation into the incident.

การพัฒนาประเทศในเครือ AEC ไทยควรเร่งตาม

การศึกษาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของสิงคโปร์ เป็นเพียงการช่วยให้เรามองเห็นจุดที่ไทยยังต้องพัฒนา เพื่อเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจและรองรับการเป็นกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community: AEC) โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพแรงงานและเทคโนโลยีศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงมองว่า ไทยต้องสร้างแนวทางในการใช้เทคโนโลยี เพื่อการผลติในรูปแบบของตัวเอง โดยอาจมีการเลือกกาหนดอุตสาหกรรมเปูาหมายที่เหมาะสมกับสถานการณ์การผลิตโดยรวมของประเทศ เช่น อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าเกษตร สุขภาพ การท่องเที่ยว เป็นต้น อีกทั้งยังสามารถนาแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ มาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้แกสินค้าและบริการควบคู่ไปกับเทคโนโลยี เพื่อตอบโจทย์ในเรื่องข้อจากัดทางการเงินของธุรกิจ SMES ที่มีส่วนสาคัญต่อภาคธุรกิจของไทย

นอกจากนี้ ไทยต้องพัฒนาคุณภาพของกาลังแรงงานควบคู่กันไปด้วย หากไทยนกระดับขีดความสามารถในการผลิตได้ จะส่งผลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสามารถแข่งขันได้ทัดเทียมต่างชาติ ไม่เพียงแต่ใน AEC แต่รวมถึงประเทศอื่นๆ จากทั่วโลกด้วย การรวมกลุ่ม AEC ที่กาลังจะเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบในปี 2558 นี้นั้น มีจุดประสงค์หลักประการหนึ่ง ที่ต้องการสร้างให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง (Highly Competitive Economic Region) และหากมองหาประเทศที่มีศักยภาพาการแข่งขันอย่างมากในอาเซียน คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะพูดถึงสิงคโปร์ ทั้งที่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่ทรัพยากรทางธรรมชาติและแรงงาน แต่สิงคโปร์สามารถปรับรูปแบบเศรษฐกิจจนกลายมาเป็นศูนย์กลางการค้า การเงินและการขนส่งที่สาคัญของภูมิภาคในปัจจุบันได้
สิงคโปร์ติดอันดับ 3 ของโลก

จากการจัดอันดับของ IMD สิงคโปร์ถือเป็นประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันอันดับที่ 3 ของโลก (FIGURE1) และสูงที่สุดในอาเซียนด้วยกัน โดยมีรายได้หลักมาจากภาคการบริการกว่า 65% มีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศรวมกว่า 974,396.3 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ขณะที่อุตสาหกรรมหลักที่สำคัญล้วนเป็นอุตสาหกรรมที่พึ่งพาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ และ วิศวกรรม เป็นต้น

แนวทางการพัฒนาศักยภาพของสิงคโปร์พบว่ามีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
1.การมุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อเสริมศักยภาพทางเศรษฐกิจ แม้สิงคโปร์จะเสียเปรียบเรื่องปัจจัยการผลิตที่มีราคาสูงกว่าประเทศอื่นๆ ในแถบอาเซียน แต่สิงคโปร์พยายามพัฒนาองค์ความรู้ ผ่านการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ให้มีระดับสูงขึ้น และนำมาต่อยอดให้เกิดนวัตกรรมเชิงธุรกิจ ซึ่งจะช่วยสร้างความได้เปรียบและส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันของสิงคโปร์ อีกทั้งยังช่วยลดการพึ่งพาเทคโนโลยีกับต่างชาติ เช่น การพัฒนาอุตสาหกรรม Biomedical ขึ้นมาเป็นอุตสาหกรรมหลักชนิดใหม่ ควบคู่ไปกับอุตสาหกรรมหลักเดิมที่นับวันจะมีสภาวะการแข่งขันจากประเทศในเอเชียที่รุนแรงขึ้น

2.การไม่หยุดที่จะยกระดับสภาพความเป็นอยู่ของคนในประเทศ จากการเปลี่ยนแปลงของลักษณะตลาดและลักษณะประชากรในสิงคโปร เช่น การขยายตัวของสังคมเมือง การเปลี่ยนแปลงช่วงอายุของประชากร และความหลากหลายของประชากรที่มากขึ้น ส่งผลให้ภาคเอกชนยังคงพยายามที่จะหาโอกาศในการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และยังช่วยยกระดับสภาพความเป็นอยู่ของคนในประเทศให้ดีขึ้น

3.การลงทุนเพื่อ R&D ของสิงคโปร์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะนโยบายหลักของสิงคโปร์ ที่ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในด้าน R&D จากภาคธุรกิจ อีกทั้งการดึงดูดนักลงทุนด้วย สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยี เช่น ที่ตั้งของประเทศ โครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น ทั้งนี้ ตัวเลขการใช้จ่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาโดยรวม (Gross Expenditure on Research & Development: GERD) ของสิงคโปร์ปี 2553 มีมูลค่า 6.5 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 7.4% (YOY) โดยกว่า 60% ของการใช้จ่ายดังกล่าวมาจากภาคเอกชน ในขณะที่บุคลากรด้านนี้เพิ่มขึ้นกว่า 4.3% (YOY) สิงคโปร์ให้สิทธิพิเศษภาคธุรกิจ

4.รัฐบาลสิงคโปร์มีการให้สิทธิพิเศษกับภาคธุรกิจที่มีการลงทุน เพื่อการวิจัยและพัฒนาในสิงคโปร์ ซึ่งถือเป็นสิ่งจูงใจให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น การให้สิทธิพิเศษทางภาษี จากนโยบายการส่งเสริมนี้ทาให้จานวนกิจกรรมเพื่อการพัฒนาสินค้าและบริการในสิงคโปร์เกิดขึ้นในหลายสาขาธุรกิจ โดยเฉพาะในสาขาหลักๆ เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์เคมี เป็นต้น อีกทั้งมีการจัดตั้งโครงการร่วมทุนกับภาคเอกชนจากประเทศอื่นๆ ในเอเชีย เช่น โครงการ Jurong Aromatics Corporation เป็นต้น

5.การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการพัฒนาองค์ความรู้ในระยะยาว ในระยะต่อจากนี้ สิงคโปร์ตั้งเป้าที่จะทำให้ประเทศกลายเป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเชิงธุรกิจ โดยภายในปี 2558 จะมีการเพิ่มสัดส่วนตัวเลขค่าใช้จ่ายเพื่อ R&D ให้ได้ถึงร้อยละ 3.5 นอกจากนี้ ภายใต้แนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจของ Economic Development Board ที่จะให้สิงคโปร์เป็น Home for Innovation และให้ความสาคัญกับความร่วมมือในการพัฒนาองค์ความรู้ จากหลายฝุาย (CO-Creationg Solutions) ทั้งภาครัฐและเอกชน

ประเทศไทยยังจะต้องปรับปรุงในเรื่องของพัฒนาองค์ความรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวม โดยการวิจัยและพัฒนาของไทยยังมีบางประเด็น ที่ส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพของไทย เช่น ผู้ประกอบการไทยยังลงทุนด้านเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตน้อย โดยในปี 2552 สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อ R&D ของภาคเอกชน เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่าย R&D รวมมีเพียง 39% อีกทั้งยังต้องพึ่งพาการนาเข้าเทคโนโลยีจากต่างชาติ ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนสูง จึงถือเป็นอุปสรรคต่อการใช้เทคโนโลยี เพื่อของผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะกลุ่ม SMES

ไทยไม่สามารถแข่งขัน โดยอาศัยความได้เปรียบจากปัจจัยแรงงานที่มีราคาถูกเพียงเดียวได้อีก เพราะระดับราคาปัจจัยการผลิตของไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เช่น การเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่าอีกทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผลิตภาพแรงงานนอกภาคการเกษตรเฉลี่ยต่อคนของไทยในไตรมาสสุดท้ายปี 2554 อยู่ที่ 111.2 เทียบกับปีฐาน 2543 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าในช่วงกว่า 10 ปี คุณภาพแรงงานของไทยยังมีการพัฒนาที่ช้าและอยู่ในระดับข้างต่า

การรวมกลุ่ม AEC ถือเป็นเหตุการณ์สาคัญที่ผู้ประกอบการไทย จะได้เผชิญโอกาสใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการร่วมกลุ่มทางเศรษฐกิจดังกล่าวอัน ได้แก่ การรวมเป็นตลาดเดียวในอาเซียนจะทาให้ลักษณะผู้บริโภคมีความหลากหลายขึ้นและมีปริมาณมากขึ้น จึงเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยสามารถที่จะพัฒนาสินค้าเดิมหรือสร้างสินค้าใหม่ๆ โดยใช้การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นเครื่องมือ การเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกได้อย่างเสรี ทาให้การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและบุคลากร ที่มีทักษะกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีความพร้อมเป็นไปได้สะดวกขึ้น แหล่งเงินทุนเพื่อพัฒนางานวิจัยและบุคลากรที่เปิดกว้างมากขึ้น และเอื้อต่อการจัดตั้งเครือข่ายข้อมูลร่วมกันในระดับภูมิภาค การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานร่วมกันในระดับภูมิภาคที่อาจเป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น การพัฒนากฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การยกระดับการศึกษา เป็นต้น สาหรับประเทศไทยและสิงคโปร์อาจใช้โอกาสจากการฟื้นฟูกรอบความร่วมมือ Singapore-Thailand Enhanced Economic Relations (STEER) ที่บรรจุแนวคิดของการพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกันระหว่าง 2 ประเทศไว้ด้วย

หากไทยต้องการที่จะยกระดับประสิทธิภาพในการผลิต ก็จาเป็นจะต้องพัฒนาเทคโนโลยีและคุณภาพของบุคลากร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดขนาดใหญ่ เช่น AEC และดึงดูดการลงทุนจากทั่วโลกในระยะยาว โดยอาศัยแนวคิดหลักๆ ดังนี้ การส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีภายในประเทศ ซึ่งจะทาให้ได้ความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับประเภทอุตสาหกรรมหลักและระดับเงินทุนของไทยควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม เช่น กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง การศึกษา เป็นต้น อีกทั้งควรกระตุ้นให้เอกชนเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพิ่มบทบาทของเศรษฐกิจในเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy) โดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน รัฐอาจช่วยสนันสนุนให้เกิดกระบวนการเพื่อการสร้างสรรค์และพัฒนาสินค้าของภาคธุรกิจ ซึ่งไม่ต้องลงทุนสูง แต่เน้นการพัฒนาสินค้าและบริการให้แตกต่างและมีความโดดเด่น เช่น ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว การพัฒนาสินค้า OTOP การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์อาหารและสินค้าเกษตร เป็นต้น

อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/160#ixzz366ilviNT

รายได้ของแต่ละประชาชนในกลุ่มAEC ณตอนนี้

รายได้ประชากรของ สิงคโปร์ และบรูไนจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง สะท้อนถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคในระดับสูง ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ของประเทศทั้งสอง นิยมบริโภคสินค้าที่มีตราสินค้าจากต่างประเทศ รวมทั้งสินค้าที่อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ขณะที่มาเลเซียจัดอยู่ใน กลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูง ผู้บริโภคชาวมาเลยเซียส่วนใหญ่อยู่ในวัยทาน จะให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอันดับแรกสะท้อนได้จากการใช้จ่าย ซื้อสินค้าดังกล่าวในระดับสูง และสำหรับ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และ สปป.ลาว จัดอยู่ในกลุ่ม ประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-ต่ำ ขณะที่กัมพูชา และพม่า จัดอยู่ในประเทศที่มีรายน้อย ทำให้ผู้บริโภคในประเทศเหล่านี้กำลังซื้อไม่สูง

สำหรับประเทศที่มีสัดส่วนการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคสูงสุดเมื่อเทียบกับGDP ได้แก่ ฟิลิปปินส์ (74% ของ GDP) เวียดนาม (67%) อินโดนีเซีย (59%) ไทย (55%) มาเลเซีย(50%) และสิงคโปร์ (41%) และเมื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่ เอื้อต่อการลงทุน พบว่าคุณภาพของคนในประเทศอาเซียน สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่สิงคโปร์ บรูไน มาเลเซีย ไทย และฟิลิปปินส์ ตามลำดับ ด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ เอื้อต่อการประกอบธุรกิจในประเทศกลุ่มอาเซียน ได้แก่

1 ประเทศที่ ประชากรมีการใช้คอมพิวเตอร์สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ตามลำดับ

2 ประเทศที่มีสัดส่วนต้นทุนการจัดตั้งธุรกิจต่ำสุดเมื่อเทียบกับรายได้ต่อ บุคคล (GNI Per capita) ได้แก่ สิงคโปร์ (0.7%) ไทย (6.3%) บรูไน (9.8%) มาเลเซีย(11.9%) และลาว (12.3%) ตามลำดับ

3 ประเทศที่ใช้เวลาจัดตั้งธุรกิจน้อยที่สุด ได้แก่ สิงคโปร์ (3 วัน) มาเลเซีย (11 วัน) ไทย (32 วัน) เวียดนาม (50 วัน) และฟิลิปปินส์ (52 วัน)

4 ประเทศที่ มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำสุดคือ สิงคโปร์ (5.4%) บรูไน (5.5%) มาเลเซีย (6.1%) ไทย(7.0%) และฟิลิปปินส์ (8.8%)

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยสามารถอาศัยความได้เปรียบจากความเชียวชาญในการผลิต สินค้า หลากหลายประเภท และสร้างโอกาสในการส่งออกสินค้าไปตลาด AEC โดยเฉพาะกลุ่ม CLMV โดยใช้ประโยชน์จากการเป็นตลาดเดียว โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าไทยที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงเช่น เช่น อาหาร สินค้าเกษตรแปรรูป ชิ้นส่วนยานยนต์ และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์

AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน


ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Community : AEC) คือ การร่วมกันทางเศรษฐกิจของประเทศในเขตอาเซียน เพื่อผลประโยชน์ในอำนาจการต่อรองทางเศรษฐกิจ การส่งออก และการนำเข้าของสินค้า เดิมจะเริ่มใช้ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 แต่เนื่องจากประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ยังไม่พร้อม จึงเลื่อนไปวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ดำเนินการควบคู่ไปกับ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Comunity : APSC) และ ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC) ซึ่งเป็นสามส่วนหลักของ ประชาคมอาเซียน

AEC หรือ Asean Economics Community คือการรวมตัวของชาติใน Asean 10 ประเทศ โดยมี ไทย, พม่า, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา และบรูไน ซึ่งก่อตั้งในปี 1967 (พ.ศ.2510) โดยมี 5 ประเทศผู้ร่วมก่อตั้งคือ ไทย, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ จากนั้นในปี 1984 (พ.ศ.2527) ประเทศบรูไน เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเป็นประเทศที่ 6, เวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกปี 1995 (พ.ศ.2538) ตามมาด้วยลาวและพม่าในปี 1997 (พ.ศ.2540) ปิดท้ายด้วยกัมพูชาในปี 1999 (พ.ศ.2542) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน ซึ่งจะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone นั่นเอง

แม้อาเซียนจะมิได้มีสนธิสัญญาหรือกฎบัตรมาตั้งแต่ต้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาเซียนก็ได้พัฒนาความร่วมมือโดยอาศัยฐานในทางกฎหมายระหว่างประเทศมากขึ้น เช่น การที่สมาชิกอาเซียนได้จัดทำสนธิสัญญาไมตรี และความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia 1976 หรือ TAC) ซึ่งก็เป็นการนำหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่มีอยู่เดิมแล้วมาเน้นย้ำระหว่างรัฐในภูมิภาค เช่น หลักการเคารพอำนาจอธิปไตยของรัฐ หลักการไม่แทรกแซงกิจการอันเป็นการภายในของแต่ละรัฐ ซึ่งปรากฏอยู่ในกฏบัตรสหประชาชาติอยู่แล้ว เป็นต้น และอาเซียนก็ได้อาศัยหลักในสนธิสัญญาดังกล่าวมาเป็นหลักการที่อาเซียนยึดถือ และเป็นข้อแม้ในการต่อรองกับรัฐที่ไม่ใช่สมาชิกให้ลงนามเป็นภาคีก่อนจะได้รับให้เข้าร่วมประชุมกับอาเซียนนั่นเอง ข้อพิจารณาสำคัญคือสนธิสัญญาดังกล่าวมิได้เกี่ยวข้องหรือทำขึ้นกับอาเซียนโดยตรง และอาเซียนก็มิได้มีความสามารถในการทำสนธิสัญญาโดยตนเอง เพียงแต่รัฐที่อยู่ในบริเวณเอเชียอาคเนย์ได้เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาดังกล่าวเพื่อประโยชน์ร่วมกันในภูมิภาคและอาศัยอาเซียนเป็นเครื่องมือในการดำเนินความร่วมมือและพันธกรณีหรือหน้าที่ตามสนธิสัญญานั้นย่อมส่งผลกระทบต่อการดำเนินความร่วมมือภายใต้กรอบอาเซียนโดยปริยาย นอกจากนี้ อาเซียนยังได้เป็นเวทีที่ทำให้เกิดสนธิสัญญาในเรื่องอื่น ๆ เช่น การทำให้ภูมิภาคปลอดจากอาวุธนิวเคลียร์ หรือล่าสุดในด้านการต่อต้านการก่อการร้าย ตลอดจนความตกลงเรื่องเศรษฐกิจและความร่วมมือเฉพาะด้าน เช่น ด้านการส่งเสริมสวัสดิการสังคม การศึกษา การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติสิ่งแวดล้อม การจัดการภัยพิบัติ ฯลฯ ซึ่งล้วนอาศัยอาเซียนเป็นกลไกสำคัญทั้งสิ้น ดังนั้น แม้ในทางรูปแบบแล้วจะไม่ถือว่าอาเซียนได้ตั้งอยู่บนฐานกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ในทางเนื้อหากฎหมายระหว่างประเทศและความตกลงเหล่านี้ก็จะได้มีอิทธิพลต่อการดำเนินของอาเซียนในช่วงเวลาที่ผ่านมา